การบันทึกบัญชี
สมการบัญชี
ก่อนอื่นเราต้องนึกถึงสมการบัญชีให้แม่นๆ ค่ะ ว่า
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุนหรือส่วนของเจ้าของ
Asset =
Liabilities + Stock shares
และ
กำไรขาดทุน = รายได้ – ค่าใช้จ่าย
Profit & Loss = Income – Expense
หรือ เขียนรวบยอดว่า
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุนหรือส่วนของเจ้าของ
+ รายได้ – ค่าใช้จ่าย ****กาดาวไว้ล้านดวงเลยก๊าบ…
โดยที่ รายได้ และ ค่าใช้จ่าย จะกระทบ
ทุนหรือส่วนของเจ้าของโดยตรงในวันสิ้นงวด
วงจรบัญชี
1.
บันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวันทั่วไป (General
Journal)
2.
ผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไป
ไปยังบัญชีแยกประเภท (General Ledger หรือ GL)
3.
นำข้อมูลฝั่ง debit และ credit
ของแต่ละบัญชีแยกประเภท
ไปทำงบทดลอง (Trial Balance)
4.
นำรายได้ (Revenue) และค่าใช้จ่าย
(Expense) มาออกงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Statement of Comprehensive
Income) ซึ่งจะได้ผลเป็นกำไรหรือขาดทุน ณ งวดนั้นๆ
5.
นำบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน และ กำไรขาดทุนจากงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ มาออกเป็นงบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
T-Account
คนที่ยังใหม่กับเรื่องบัญชี ยังไม่คุ้นเคยกับการลงบัญชี อาจไม่เคยได้ยินคำว่า T-Account
หรือ
บัญชีรูปตัวที ซึ่งรูปร่างหน้าตาของบัญชีมันก็เป็นรูปเหมือนตัว T ในภาษาอังกฤษจริงๆ
ล่ะค่ะ
ด้านซ้ายรูปตัว T เป็นฝั่งเดบิต หรือ Debit หรือเขียนย่อว่า
Dr
ด้านขวารูปตัว T เป็นฝั่งเครดิต
หรือ Credit หรือเขียนย่อว่า Cr
ประเภทบัญชีกับการลง T-Account
ยังจำกันได้ใช่ไหมคะว่า บัญชีมีทั้งหมด 5 ประเภท คือ
สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย
บัญชีประเภทสินทรัพย์ และ ค่าใช้จ่าย
จะลงบัญชีเหมือนกัน คือ หากมีค่าเพิ่มขึ้น ก็จะลงบัญชีฝั่ง Dr หากมีค่าลดลง
ก็ลงบัญชีฝั่ง Cr
ตัวอย่าง ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินสด 1000 บาท
จะต้องลงบัญชีดังนี้คือ
Dr วัสดุสำนักงาน 1000
Cr
เงินสด 1000
** เนื่องจาก บัญชี วัสดุสำนักงาน และ บัญชี
เงินสดเป็นบัญชีประเภทสินทรัพย์ทั้งคู่ ดังนั้น เมื่อเราซื้อวัสดุสำนักงานมา
เราได้วัสดุสำนักงานเพิ่มขึ้นมาใน stock ดังนั้นจึง Dr
บัญชีวัสดุสำนักงาน 1000 บาท และเราก็ใช้เงินสดที่เรามีอยู่ 1000 บาท ไปซื้อวัสดุฯ
มา ทำให้เงินสดของเราลดลงไป 1000 บาท ดังนั้น จึงต้อง Cr บัญชีเงินสด 1000
บาทนั่นเอง เพราะเงินสดลดลง
บัญชีประเภทหนี้สิน ทุน และ รายได้
จะลงบัญชีตรงข้ามกับบัญชีสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย คือ หากมีค่าเพิ่มขึ้น ก็จะลงบัญชีฝั่ง
Cr หากมีค่าลดลง ก็ลงบัญชีฝั่ง Dr
ตัวอย่าง ขายสินค้าให้ลูกค้าเป็นเงินเชื่อจำนวน 20,000
บาท จะต้องลงบัญชีดังนี้คือ
Dr ลูกหนี้ 20000
Cr
ขาย 20000
** เนื่องจาก บัญชี ลูกหนี้เป็นบัญชีประเภทสินทรัพย์
ดังนั้น เมื่อเราขายสินค้าให้ลูกค้าเป็นเงินเชื่อ
นั่นคือลูกค้าจะมีสถานะเป็นลูกหนี้ของเรา เมื่อลูกหนี้เพิ่มขึ้น เราจึงต้อง Dr
บัญชีลูกหนี้ 20000 บาท และบัญชีขาย ซึ่งเป็นบัญชีประเภทรายได้ เมื่อมีการขายสินค้า
ก็จะทำให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น จึงต้อง Cr บัญชีรายได้ 20000
บาทนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น